วิธีการนวดแผนโบราณ
นวดแผนไทย
นวดไทยและ
นวดเพื่อสุขภาพ
► วิธีการนวดแผนโบราณ
เราสามารถนวดบนร่างกาย โดยใช้วิธีการนวดต่าง ๆ ดังนี้
- การนวด การใช้น้ำหนัก กดลงบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย น้ำหนักที่กดจะทำให้ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืดคลาย การนวดไทยเน้นมักจะใช้น้ำหนักของร่างกายเป็นแรงกด
- การบีบ เป็นการใช้น้ำหนัก กดลงบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในลักษณะ 2 แรงกดเข้าหากัน
- การคลึง การใช้น้ำหนัก กดคลึง เป็นการกระจายน้ำหนักกดบนส่วนนั้น การคลึงให้ผลในการคลายใช้กับบริเวณที่ไวต่อการสัมผัส เช่น กระดูก ข้อต่อ
- การถู การใช้น้ำหนักถู เพื่อทำให้ผิวหนังเกิดการยืดขยายรูขุมขนเปิด วิธีนี้นิยมใช้กับยาหรือน้ำมันเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าได้ดี
- การกลิ้ง การใช้น้ำหนักหมุนกลิ้ง ทำให้เกิดแรงกดต่อเนื่องไปตลอดอวัยวะ ทั้งยังเป็นการยืด กล้ามเนื้ออีกด้วย
- การหมุน การใช้น้ำหนักหมุนส่วนที่เคลื่อนไหวได้คือ ข้อต่อ เพื่อให้พังผืด เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อ ยืดคลายการเคลื่อนไหวดีขึ้น
- การบิด จะมีลักษณะคล้ายกับการหมุน
- การดัด การใช้น้ำหนักยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นพังผืดให้ยืดกว่าการทำงานปกติ เพื่อให้เส้นหย่อนคลาย
- การทุบ การใช้น้ำหนักทุบ ตบ สับ ลงบนกล้ามเนื้อให้ทั่ว
- การเขย่า การใช้น้ำหนักเขย่ากล้ามเนื้อ เพื่อกระจายความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อให้ทั่ว
► ลักษณะการนวดแผนโบราณ
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
- การนวดยืด ดัด ลักษณะการนวดแบบนี้คือ การยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด ให้ยืดคลาย
- การนวดแบบจับเส้น ลักษณะการนวดคือ การใช้น้ำหนักกดลงตลอดลำเส้นไปตามอวัยวะต่าง ๆ การนวดชนิดนี้ค้องอาศัยความเชื่ยวชาญของผู้นวด ซึ่งได้ทำการนวดมานานและสังเกตถึงปฏิกิริยาของแรงกดที่แล่นไปตามอวัยวะต่าง ๆ
- การนวดแบบกดจุด ลักษณะการนวดคือ การใช้น้ำหนักกดลงไปบนจุดของร่างกาย การนวดนี้เกิดจากประสบการณ์และความเชื่อว่าอวัยวะของร่างกายมีแนวสะท้อนอยู่บนส่วนต่าง ๆ และเราสามารถกระตุ้นการทำงานของอวัยวะนั้นโดยการกระตุ้นจุดสะท้อนที่อยู่บนส่วนต่าง ๆ บนร่างกาย
......................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
......................................................................................
► เทคนิคการนวดแผนโบราณ
1. นวดด้วยนิ้วหัวแม่มือ วิธีกดนวดแบบนี้ใช้ผิวหน้าของนิ้วหัวแม่มือส่วนบน ไม่ใช่ปลายนิ้วหรือปลายเล็บจิกลงไป
2. นวดด้วยฝ่ามือ เหมาะสำหรับการนวดบริเวณที่มีพื้นที่กว้าง น้ำหนักตัวที่ทิ้งลงไปที่ฝ่ามือจะช่วยทำให้การนวดด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนวดได้ 3 ลักษณะกล่าวคือ
2.1 นวดด้วยท่าประสานมือ
2.2 นวดด้วยท่าผีเสื้อบิน
2.3 นวดโดยวางมือห่างจากกันเล็กน้อย
3. นวดด้วยนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างพร้อมกัน วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นเส้นพลังต่าง ๆ โดยการเลื่อนนิ้วไปตามแนวเส้น เว้นช่องว่างระหว่างนิ้วทั้งสองข้างประมาณ 2-3 ซม.
4. กดนวดด้วยเท้า นิยมใช้วิธีการกดนวดบริเวณที่กว้างและมีส่วนเว้าส่วนโค้งอย่างน่องขาหรือต้นขาที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของผู้รับการนวด ในขณะที่การใช้ส้นเท้านวดจะเหมาะสำหรับการนวดในท่าที่ต้องการแรงกดมาก ๆ
5. กดนวดด้วยเข่า การกดนวดด้วยเข่ามักจะนิยมใช้ในท่าที่มือจำเป็นต้องไปจับอวัยวะส่วนอื่นอยู่ ซึ่งจะถ่ายเทน้ำหนักได้ดี นิยมใช้ในการนวดต้นขาส่วนล่างและสะโพก
6. ยืนกด การใช้ท่านี้จะต้องระวังการยืนให้ดี ควบคุมให้ได้ว่าจะทิ้งน้ำหนักตัวไปส่วนไหนจึงจะไม่เป็นอันตรายและเกิดประโยชน์กับผู้รับการนวดมากที่สุด มักนิยมยืนคร่อมต้นขาของผู้รับการนวด
7. กดนวดด้วยข้อศอก นิยมใช้ปลายข้อศอกแหลม ๆ กดลงไป มักกดบริเวณต้นขา สะโพกและไหล่ ที่มีกล้ามเนื้อค่อนข้างหนา มีไขมันสะสมมาก
8. กดนวดด้วยท่อนแขน ถ้าหากผู้รับการนวดรู้สึกเจ็บ ให้ใช้วิธีการนวดด้วยท่อนแขนแทน เพราะจะรู้สึกนุ่มนวลขึ้นมากเลยทีเดียว
แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง
► เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ-นวดฝ่าเท้า (อ่านต่อ)
► เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ-นวดขา (1/2) (อ่านต่อ)
► เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ-นวดขา (2/2)(อ่านต่อ)
► เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ-นวดใบหน้า คอ แขนและมือ(อ่านต่อ)
► เทคนิควิธีการนวดแผนโบราณ-นวดในท่านั่ง นวดคอ ไหล่และหลัง(อ่านต่อ)
► วิธีการนวดแผนโบราณขั้นพื้นฐาน-นวดหน้า
เรียนรู้-ฝึกฝนด้วยตัวเอง 12 ท่านวดหน้าขั้นพื้นฐาน เพื่อสุขภาพความงามและผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้ผิวหน้าสดใส กระชับกล้ามเนื้อใบหน้า (อ่านต่อ)
► วิธีการนวดแผนโบราณขั้นพื้นฐาน-นวดคอ
เรียนรู้-ฝึกฝนด้วยตัวเอง 10 ท่านวดคอ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดอาการเคล็ดขัดยอก บรรเทาปวดศีรษะ ผ่อนคลายความเครียด (อ่านต่อ)
► วิธีการนวดแผนโบราณขั้นพื้นฐาน-นวดไหล่
เรียนรู้-ฝึกฝนด้วยตัวเอง 14 ท่านวดไหล่ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการเคล็ดขัดยอก ผ่อนคลายความเครียดและเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ (อ่านต่อ)
► วิธีการนวดแผนโบราณขั้นพื้นฐาน-นวดแขนและมือ
เรียนรู้-ฝึกฝนด้วยตัวเอง 19 ท่านวดแขนและมือ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดอาการเคล็ดขัดยอกและผ่อนคลายความเครียด (อ่านต่อ)
► วิธีการนวดแผนโบราณขั้นพื้นฐาน-นวดเอวและหลัง
เรียนรู้-ฝึกฝนด้วยตัวเอง 14 ท่านวดเอวและหลัง ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดอาการเคล็ดขัดยอกและผ่อนคลายความเครียด (อ่านต่อ)
►วิธีการนวดแผนโบราณขั้นพื้นฐาน-นวดขาและเท้า
เรียนรู้-ฝึกฝนด้วยตัวเอง 18 ท่า นวดขาและเท้าขั้นพื้นฐาน ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอกและผ่อนคลายความเครียด (อ่านต่อ)
แนะนำ VDO องค์ความรู้เกี่ยวกับสปา นวดแผนโบราณ
แนะนำ VDO องค์ความรู้พื้นฐานของการนวดแผนโบราณ
แนะนำ VDO วิธีการนวดกดจุด นวดฝ่าเท้า ตำราวัดโพธิ์
แนะนำ VDO สาธิตวิธีการนวดแผนโบราณ นวดแผนไทย นวดไทย
แนะนำ VDO วิธีการนวดฤษีดัดตน นวดไทยโยคะ
แนะนำ VDO วิธีการนวดลูกประคบบำบัด ประโยชน์ในการรักษาโรค
แนะนำ VDO การนวดตามธาตุเจ้าเรือน
แนะนำ VDO วิธีการนวดรักษาอาการปวดหัว โรคไมแกรน
♦เรียบเรียงบทความ "วิธีการนวดแผนโบราณ"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com
|