หลักสูตรโยคะภาวนา (Yoga) เพื่อสุขภาพ
(เรียนฟรี-สอนฟรี)
ฝึกภาวนาในขณะฝึกโยคะ ด้วยความเสถียร สุข อยู่กับตัวเอง
โดย ครูดล (ธนวัชร์ เกตน์วิมุต) เครือข่ายชีวิตสิกขา
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน เวลา 09.00 - 12.00 น.
ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น 2 สวนโมกข์กรุงเทพฯ
ไม่มีค่าใช้จ่าย (เรียนฟรี-สอนฟรี) กรุณาเตรียมเสื่อโยคะมาด้วย
.........................................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
.........................................................................................................
สนใจเรียนโยคะ (เรียนฟรี-สอนฟรี)-ติดต่อสอบถามได้ที่
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
(Buddhadasa Indapanno Archives)
สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถ.นิคมรถไฟสายสอง เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์. 08-7678-1669 หรือ 08-9899-0094, 0-2936-2800
E-Mail: info.bia.or.th
Website: http://register.bia.or.th
รายการกิจกรรมอื่นๆ ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส
อินทปัญโญ (Buddhadasa Indapanno Archives)
• ความตายออกแบบได้
• ฟัง (Contemplative Listening)
• โยคะภาวนา
• โสตะ - สติ (mindfulness with sound)
• หลักสูตรอบรม คู่มือมนุษย์ รุ่นที่ 9
• อบรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ตามแนวหลวงพ่อเทียน (วันเสาร์เต็มวัน)
• อบรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ตามแนวหลวงพ่อเทียน (วันอาทิตย์ครึ่งวัน)
• อานาปานสติวันอาทิตย์ อาทิตย์ที่ 1 ภาวนากับพระอาจารย์จากสวนโมกขพลาราม
• อานาปานสติวันอาทิตย์ อาทิตย์ที่ 2 ขั้น เริ่มต้น ฝึกใจ
• อานาปานสติวันอาทิตย์ อาทิตย์ที่ 3 ขั้นกลาง
แผนที่ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (Buddhadasa Indapanno Archives) คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
ข้อมูลเกี่ยวกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (Buddhadasa Indapanno Archives)
วัตถุประสงค์
1. เป็นศูนย์การเรียนรู้และสถานบริการด้านศาสนธรรมอันรื่นรมย์ เป็นกำลังเพื่อการบรรลุธรรมลักษณะ SPIRITUAL FITNESS & EDUTAINMENT CENTER
2. สืบสานงานพระพุทธศาสนา ผ่านงาน ปณิธาน และอุดมการณ์ของพุทธทาสภิกขุ ในการนำพาความถูกต้องและสันติสุขทั้งทางกาย จิตใจ และปัญญา ให้กลับคืนสู่สังคมมนุษยชาติ ด้วยการเข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา การทำความเข้าใจกันระหว่างศาสนิกชนและการออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม จนเป็นพุทธทาสกันได้ทุกคน - ผู้รับใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น จนผู้อื่นพากันทำตาม และเป็นสวนโมกข์ได้ทุกที่ - บุญสถานเพื่อการบรรลุธรรม
3. ทำหน้าที่รวบรวม ดูแล รักษา และจัดระบบบริการสืบค้นมรดกธรรม เอกสารข้อเขียนต้นฉบับต่าง ๆ ของพุทธทาสภิกขุ ตลอดจนการให้บริการสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาเผยแผ่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนธรรม การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสติปัญญาและจิตใจให้เจริญจนกล้าแข็งในความถูกต้องดีงาม จนเป็นผู้สงบ เย็น และเป็นประโยชน์ มีศักยภาพในการเป็นผู้อยู่ใน ใจเหนือ และเกื้อโลก ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ขอบเขตงานของโครงการ
- การรวบรวม อนุรักษ์และจัดเก็บรักษาตามมาตรฐานงานหอจดหมายเหตุ
- การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการสืบค้น ศึกษาและเผยแผ่
- การจัดกิจกรรมบริการ ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัยพัฒนา ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งการเป็นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์รวมหนังสือธรรมะ โรงมหรสพทางวิญญาณ และการประชุม เสวนา ศึกษาและปฏิบัติธรรม
- การจัดหาและก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุที่เหมาะสมและมั่นคงถาวรในเขตกรุงเทพมหานคร
- การจัดระบบงานบริหารจัดการ การเงินและบัญชี การอนุรักษ์ การจัดบริการ การศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ
- การจัดระบบอาสาสมัครและความร่วมมือกับองค์กรอื่น
ภาพรวมของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (Buddhadasa Indapanno Archives) เป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม (Religious Archives) ที่ทำการเก็บรักษา อนุรักษ์ ศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่ผลงานของท่านพุทธทาสฯ ให้แพร่หลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงหัวใจของศาสนา ตามปณิธาน ๓ ประการของท่านพุทธทาส
๑. พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน
๒. พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม
๓. พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (Buddhadasa Indapanno Archives) จัดตั้งภายใต้มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งได้จดทะเบียนมูลนิธิกับกรุงเทพมหานครแล้ว ทะเบียนเลขที่ กท ๑๕๙๘ โดยจะได้รับการโอนมอบหน้าที่ในการจัดเก็บดูแลรักษา จัดระบบบริการพร้อมทั้งร่วมดูแลรับผิดชอบ เอกสาร บันทึก ภาพ แผนที่ สื่อโสตทัศนะ และผลงานต่างๆ ของท่านพุทธทาส จากสวนโมกขพลารามและธรรมทานมูลนิธิให้มาอยู่ภายใต้การดูแลร่วมของหอจดหมายเหตุฯ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของโครงการ เพื่อเป็นธรรมทานต่อไป
ตลอดช่วงชีวิต ๘๗ ปี ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๔๙-๒๕๓๖ ของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้ศึกษาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรม อย่างสม่ำเสมอและแพร่หลาย มีผลงานการเผยแผ่รูปธรรมและประจักษ์พยานอย่างมาก ไม่เฉพาะเพียงที่สวนโมกขพลาราม และ คณะธรรม ทานเท่านั้น เกิดการเคลื่อนไหวใหม่ในสังคม และแวดวงศาสนา อย่างต่อเนื่องกว้างขวางมากมาย สืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน ได้รับการยอมรับนับถือทั่วไปทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ และสากล
ไม่จำเพาะเฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้นหลังมรณกรรมของท่านแล้ว สวนโมกขพลารามคณะธรรมทานและ คณะศิษยานุศิษย์ ตลอด จนกลุ่มผู้สนใจใฝ่ศึกษาปฏิบัติ ได้ประมวลรวบรวมสิ่งศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหลายของท่านไว้ สิ่งศึกษาเรียนรู้ ทั้งหมดนี เป็นมรดกทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ สมควรจัดเก็บอนุรักษ์ไว้ให้เป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการสืบค้นเพื่อเผยแผ่ และเป็น ประโยชน์เกิดสันติสุขแห่งมวลมนุษยชาติ ในเบื้องต้นจากการสำรวจเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพ แถบเสียงโสตทัศน์ และวัตถุสิ่งของต่างๆ ของท่านพุทธทาส มีปริมาณเบื้องต้นมากกว่า ๒๗,๓๔๗ รายการ ซึ่งในปัจจุบันทุกอย่างอยู่ในสถานภาพที่เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ ควรได้รับการอนุรักษ์ รักษาอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ทางสวนโมกขพลาราม คณะธรรมทาน ตลอดจนคณะผู้ศึกษาและ ศรัทธาในท่านจะได้พยายามดำเนินการต่างๆ เพื่อจัดเก็บ รักษาและอนุรักษ์ แต่ก็พบว่ายังไม่สามารถดำเนินการให้ได้ดีและสมบูรณ์ สมกับคุณค่าของงานต่างๆ ที่มีอยู่ และพบว่าเกินกำลังและวิสัยของวัด มูลนิธิและอาสาสมัคร
ด้วยเหตุนี้คณะผู้ศรัทธาอันประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญงานจดหมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญงานระบบ ฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญงานสถาปัตยกรรม อาสาสมัคร และผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ โดยความเห็นชอบของ สวนโมกขพลารามและคณะธรรมทาน ได้ร่วมกันวางแนวทางในการจัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งเป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม (Religious Archives) เพื่อทำการเก็บรักษา อนุรักษ์ ศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่ผลงานของท่านพุทธทาสฯ ให้แพร่หลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงหัวใจของศาสนา ตามปณิธาน ๓ ประการของท่านพุทธทาส โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการในปี ๒๕๕๓
การดำเนินงาน มีพระภาวนาโพธิคุณ (โพธิ์ จันทสโร) และ นายเมตตา พานิช เป็นที่ปรึกษา และมีคณะทำงานอาสาสมัครฝ่ายต่างๆ ทั้งจากสวนโมกข์ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาคพัฒนา ภาควิชาการ และภาครัฐ ในเบื้องต้นประกอบด้วย คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานจดหมายเหตุ, คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานระบบฐานข้อมูล, คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ งานสถาปนิก, อาสาสมัครสนับสนุนการประสานงานและบริหารจัดการ, อาสาสมัครสนับสนุนการประสานงานทางกฎหมาย, อาสาสมัครสนับสนุนการจัดระบบงานทางบัญชี, อาสาสมัครงานสวนโมกข์ และ อาสาสมัครกิจกรรมสนับสนุน
|
แนะนำบทความ
แนะนำโรงเรียน
สอนฟรี-เรียนฟรี
• เรียนนวด...ฟรี
• เรียนสปา...ฟรี
• เรียนโยคะ...ฟรี
• เรียนสมุนไพร...ฟรี
แนะนำโรงเรียน
สอนนวด-เรียนนวด
สปาอคาเดมี่
10 อันดับ
ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด
• โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ
วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)
• มูลนิธิการแพทย์แผนไทย
พัฒนา กระทรวงสาธารณสุข
• ชีวาศรม อคาเดมี่ กรุงเทพฯ
• Crystal Professional
Academy
• ปริ๊นเซส เฮลท์ แอนด์
บิวตี้ อคาเดมี่
• ปานวิมาน สปา อะคาเดมี
• Siam Holistic Academy
• ใบมิ้น สปา อะคาเดมี
• สถาบันวิชาชีพสปา กรุงเทพฯ
• โรงเรียนสอนนวดไทย
ไทยโยคะ (ฤาษีดัดตน)
< ดูทั้งหมด >
ไดเร็กทอรี่
โรงเรียนสอนนวด
เรียนนวด สปาอคาเดมี่
Directory Spa School
< ดูทั้งหมด >
วีดีโอ-VDO
องค์ความรู้เกี่ยวกับ
สปา นวดแผนไทย
10 อันดับ
ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด
• สาธิตวิธีการนวดเท้า
เพื่อสุขภาพ
• สาธิตวิธีการนวดกดจุด
นวดเท้า ตำราวัดโพธิ์
• สาธิตวิธีการนวดแผนโบราณ
• สาธิตวิธีการนวดด้วยลูกประคบบำบัด
• สาธิตวิธีการนวดแผนโบราณ-การตอกเส้น
• สาธิตวิธีการนวดด้วยตัวเองเพื่อสุขภาพ 14 ท่า
• สาธิตฤาษีดัดตน ท่าขั้น
พื้นฐาน 15 ท่า (ท่าที่ 1-5)
• นวดแผนโบราณแนวเส้นประธานสิบ ตำราเวชเชตุพน (วัดโพธิ์)
• อยู่ไฟ ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูของคุณแม่หลังคลอดบุตร
• คลินิกอายุรเวท
โรงพยาบาลศิริราช
< ดูทั้งหมด >
วิธีการนวดแผนโบราณ
นวดกดจุด นวดฝ่าเท้า
ขั้นพื้นฐาน
• วิธีการนวดหน้า
ขั้นพื้นฐาน 12 ท่า
• วิธีการนวดไหล่
ขั้นพื้นฐาน 14 ท่า
• วิธีการนวดคอ
ขั้นพื้นฐาน 10 ท่า
• วิธีการนวดขาและนวดเท้า
ขั้นพื้นฐาน 18 ท่า
• วิธีการนวดเอวและนวดหลัง
ขั้นพื้นฐาน 14 ท่า
• วิธีการนวดแขนและนวดมือ
ขั้นพื้นฐาน 19 ท่า
• วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้า
เบื้องต้น (1)
• วิธีการนวดกดจุดฝ่าเท้า
เบื้องต้น (2)
• วิธีการนวดและกดจุดฝ่าเท้า
เพื่อสุขภาพ (1)
• วิธีการนวดและกดจุดฝ่าเท้า
เพื่อสุขภาพ (2)
• วิธีการนวดและกดจุดฝ่าเท้า
รักษาโรค (1)
• วิธีการนวดและกดจุดฝ่าเท้า
รักษาโรค (2)
< ดูทั้งหมด >
เทคนิควิธีการ
นวดแผนโบราณ
• เทคนิควิธีการนวดฝ่าเท้า
• เทคนิควิธีการนวดขา (1/2)
• เทคนิควิธีการนวดขา (2/2)
• เทคนิควิธีการนวดใบหน้า
คอ แขนและมือ
• เทคนิควิธีการนวดในท่านั่ง
นวดคอ ไหล่และหลัง
< ดูทั้งหมด >
|