วิธีการใช้และสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
วิธีการใช้ "น้ำมันหอมระเหย" และ "สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย" มีหลากหลายวิธี เราควรจัดกลิ่นของ "น้ำมันหอมระเหย" ให้เหมาะสมกับผู้ใช้ อีกทั้ง "น้ำมันหอมระเหย" ยังสามารถเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับจิตวิญญาณของผู้ใช้แต่ละบุคคล
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทางผิวหนัง
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการพลู น้ำมันลาเวนเอร์ และน้ำมะนาว
- แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ ฯลฯ เช่น น้ำมันคาโมไมล์ และน้ำมันลาเวนเดอร์
- ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบและน้ำมันเจอร์เรเนียม
- ระงับกลิ่น ผู้ที่มีกลิ่นออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมันตะไคร้
- ไล่แมลงและฆ่าปรสิต พวกเหา หมัด ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทาง
ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อและข้อต่อ
"น้ำมันหอมระเหย" ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ตามแระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุ ทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันหอมระเหยที่ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้น แต่มีผลต่ออวัยวะภายในด้วย ความร้อนทำให้เส้นโลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
- เพิ่มความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์
- ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมะนาว
......................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
......................................................................................
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทางระบบหายใจ
"น้ำมันหอมระเหย" เหมาะที่จะรักษาการติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอด เพราะใช้สูดดม ตัวยาก็จะผ่านไปถึงปอดซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่าให้ยาโดยการรับประทาน
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ขับเสมหะสำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันจันทน์ และน้ำมันยี่หร่า
- คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไตแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันคาโมไมล์ และน้ำมันมะกรูด
- ฆ่าเชื้อสำหรับไข้หวัดใหญ่ เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันพิมเสน
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทางระบบย่อยอาหาร
"น้ำมันหอมระเหย" ที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้องอาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
- ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่
- ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่
- ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย
ผ่านทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อ
"น้ำมันหอมระเหย" มีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่นน้ำมันคาโมไมล์ น้ำมันมะลิและน้ำมันลาเวนเดอร
- ขับระดู สำหรับผู้มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เฃ่น น้ำมันคาโมไมล์ และน้ำมันสะระแหน่
- ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และน้ำมันตะไคร้
- ปลุกกำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยรู้สึก เช่น น้ำพริกไทยดำ น้ำมันกระวาน น้ำมันมะลิ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และน้ำมันไม้จันทน์
- ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทางระบบภูมิคุ้มกัน
ส่วนใหญ่ "น้ำมันหอมระเหย" มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว
- สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
- ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกะเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และน้ำมันกานพลู
- ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกะเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และน้ำมันยูคาลิปตัส
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทางระบบประสาท
ได้มีการพิสูจน์แล้วว่า "น้ำมันหอมระเหย" หลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และน้ำมันลาเวนเดอร์ มีผลสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกะเพรา น้ำมันกานพลู และน้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยผ่านทางระบบจิตใจ
"น้ำมันหอมระเหย" มีอิทธิพลทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ศาสนพิธีและพิธีกรรมต่างๆ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอารมณ์ ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการดังนี้
- วิธีที่ใช้
- ปริมาณที่ใช้
- สภาวะที่กำลังใช้อยู่
- สภาวะของบุคคลที่ใช้ ( อายุ เพศ บุคคลิก )
- อารมณ์ในขนะที่จะใช้
- ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
- ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง
ดังนั้นเราจำเป็นต้องจัดกลิ่นของ "น้ำมันหอมระเหย" ให้เหมาะสมกับผู้ใช้เสมอ อีกทั้ง "น้ำมันหอมระเหย" ยังสามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับจิตวิญญษณของผู้ใช้แต่ละบุคคลอีกด้วย
•อย่างไรก็ตามเนื่องจาก "น้ำมันหอมระเหย" ที่สกัดได้จากพืช จะมีความเข้มข้นสูงมาก ดังนั้นต้องมีน้ำมันที่ใช้เป็นน้ำมันกระสายยาหรือตัวพา (Carrier Oil) เจือจางก่อนจะใช้ ทั้งนี้ "น้ำมันกระสายยา" ที่จะนำมาใช้จะต้องไม่บดบังกลิ่นของ "น้ำมันหอมระเหย" และสามารถผสมเข้ากันได้ดี "น้ำมันกระสายยา" ที่เด่น ๆ เช่น Almand Oil, Avocado Oil แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Almond Oil เพราะมีกลิ่นอ่อนและมีความหนืดที่พอเหมาะ ในกรณีที่ใช้ในอโรมาเทอราปี โดยการนวด "น้ำมันกระสายยา" เหล่านี้จะมีประโยชน์มากเนื่องจากมีปริมาณของวิตามิน A และ E อยู่จำนวนมากและช่วยทำให้ผิวชุ่มชื่น
♦เรียบเรียงบทความ
"วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยและสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com
|