มะลิ
พืชสมุนไพรไทย
น้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย
"มะลิ" เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมสดชื่น อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมหลายรูปแบบ โดยเฉพาะในรูปแบบของงงานฝีมือประเภทประดิษฐ์ประดอย เข่น ทำเป็นพวงมาลัย การตกแต่งพานพุ่ม ตลอดไปจนถึงการใช้เป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ซึ่งให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานละมุนละไมอย่างลุ่มลึก
"มะลิ" มีกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนชื้น มีพบมากทั้งในแถบยุโรป เอเชีย และแถบแปซิฟิคในประเทศไทย ปลูกกันมานานแล้ว โดยปลูกกันอยู่ทั่วไป แถบจังหวัดภาคกลางเช่น กรุงเทพมหานคร นครปฐม
ลักษณะทั่วไปของ "มะลิ" มีลีกษณะทั้งเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ใบมีทั้งเป็นใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งเป็นแบบใบอยู่ตรงกันข้ามใบแบบสลับกัน ส่วนดอกมีทั้งที่เป็นดอกเดียวหรือเป็นดอกช่อ ดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่ง ดอกสีขาว สีเหลือง บางทีก็มีดอกสีค่อนข้างแดง รูปร่างของดอกเป็นแบบแบนราบ ส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ หรือบางทีก็มี 4-10 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ โดยปกติดอกจะเริ่มบานในเวลาบ่ายแล้วจะร่วงในวันรุ่งขึ้น มะลิจะให้ดอกมากในฤดูร้อน ฝน และจะน้อยที่สุดในฤดูหนาว
► ชนิดและพันธุ์
มะลิทั่วโลก มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 200 ชนิด แต่ในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 45 ชนิด และในจำนวนนี้ เป็นไม้พื้นเมืองของไทย ประมาณ 15 ชนิด แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดคือ มะลิลา
สำหรับพันธุ์มะลิลาที่นิยมปลูกกันเป็นการค้ากันมากมี 3 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และพันธุ์ชุมพร ส่วนความต้องการของตลาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน และความนิยมของท้องถิ่น เช่น ถ้าต้องการมะลิลาดอกเล็ก ปลายเรียวแหลม เหมาะกับการนำมาร้อยมาลัย จะใช้พันธุ์ราษฎร์บูรณะและพันธุ์ชุมพร แต่ถ้าต้องการมะลิลาดอกใหญ่ ปลายดอกบาน ก็ใช้พันธุ์แม่กลอง
- พันธุ์แม่กลอง เป็นพันธุ์ที่มีลีกษณะทรงต้นและต้นพุ่มต้นใหญ่ หนาดกและทึบ เจริญเติบโตเร็ว ใบมีขนาดใหญ่และหนา ใบมีสีเขียวเกือบดำ รูปทรงใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน ช่วงข้อใบห่าง ดอกใหญ่และกลม ลักษณะช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอก พันธุ์แม่กลองจะให้ปริมาณดอกน้อยกว่าพันธุ์ราษฎร์บูรณะและพันธุ์ชุมพร
- พันธุ์ราษฎร์บูรณะ ลักษณะทรงพุ่มเล้กกว่าพันธุ์แม่กลอง แต่พุ่มค่อนข้างทึบ ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวไม่เข้ม รูปใบเรียว ช่วงข้อใบค่อนข้างถี่ ดอกมีขนาดเล็ก เรียวแหลม ลักษณะช่อดอกมักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก เป็นพันธุ์ที่ให้ดอกดก โดยจะทยอยให้ดอกเรื่อย ๆ
- พันธุ์ชุมพร มีลักษณะทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดูโปร่งกว่าเล็กน้อย ใบมีลักษณะคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่เรียกว่า สีอ่อนกว่าและบางกว่า มีช่วงข้อใบถี่ ลักษณะดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะคือมีขนาดเล็กเรียวแหลม ลักษณะช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก เป็นพันธุ์ที่ให้ดอกดกมาก แต่จะทิ้งระยะห่างเป็นช่วง ๆ
► การขยายพันธุ์
มะลิลาขยายพันธุ์ได้หลายวิธีคือ การตอน การปักชำ การทาบกิ่ง และแยกกอ แต่วิธีที่ทำได้ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การปักชำ สำหรับขั้นตอนขยายพันธุ์มะลิด้วยการปักชำมีดังนี้คือ
- กิ่งที่ใช้ชำ ควรเป็นกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่ง ควรจะตัดให้ชิดข้อ เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ โดยคัดใบเสียครึ่งหนึ่ง ถ้าต้องการเร่งการออกดอกควรใช้ฮอร์โมนชนิด ไอบีเอ และเอ็น เอ เอ ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4500 พีพีเอ็ม
- วัสดุที่ใช้ชำ ควรจะเป็นทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 อาจะบรรจุในตะกร้าพลาสติก แล้วปักชำเรียงเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 2 นิ้ว ระยะระหว่างกิ่ง 2 นิ้ว เช่นกัน หมั่นรักษาความชุ่มชื้นตลอดเวลา ถ้าให้ดีควรวางตะกร้าไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่รวบปากถุงให้สุงแล้วผูกยึดไว้กับท่อนไม้เล็ก ๆ ที่ปักไว้ หรือยึดปากถุงติดกับสิ่งอื่นก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้ปากถุงกดทับกิ่งที่สำคัญ
- ในการชำ วิธีนี้ควรนำกิ่งชำมะลิแช่ในยากันรา เช่น แคปแทนก่อนแล้วจึงนำไปชำ เพราะการชำแบบนี้ ทำให้เกิดโรคราได้ง่าย
- เมื่อปิดปากถุงแล้วต้องนำไปวางในที่ร่ม โดยปกติมะลิลาจะออกราก ภายใน 1 อาทิตย์ แต่ถ้าเป้นมะลิซ้อน จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
- สำหรับในกรณีที่ต้องการจะขยายพันธุ์ เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น อยู่ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะใช้ขนาด 1x1x0.8 เมตร วัสดุปักชำที่ใช้อาจจะใช้เพียงขี้เถ้าแกลบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ นิยมใช้ขี้เถ้าแกลบที่เก่า ๆ โดยใส่ขี้เถ้าแกลบในกระบะ ประมาณ 50 ซ.ม ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว ให้ชุ่ม ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 อาทิตย์ กิ่งมะลิจะออกราก เมื่อมะลิออกรากแล้วให้สังเกตดูความอุดมสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติก
แปลงการปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซนต์การออกรากก็สูง แต่ก็มีข้อควรระวังในการปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้ยาป้องกันเชื้อราราดหรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำ และในการเลือกกิ่งปักชำควรเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ และไม่มีโรคติดมาด้วย
► วิธีการปลูก
การปลุกมะลินียมปลูกต้นฤดุฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพราะมะลิสามารถตั้งต้นได้ดีและเร็ว ปกติมะลิชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารพร้อมเพรียง
การปลูกที่เหมาะสมคือ ควรจะขุดหลุมลึก ตลอดจนความกว้างและความยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ หรือปุ๋ยหมักหรือวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 1 กำมือ และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อีก 1 กำมือ คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วใส่กลับลงในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ได้จากการปักชำ เอาไปปลูก แล้วควรจะปลูกมะลิให้ได้รับแสงแดดจัด เพราะจะทำให้ดอกไม่ดกเท่าที่ควร
......................................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
......................................................................................
► การให้น้ำ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกมะลิ เนื่องจาก มะลิต้องการน้ำพอสมควร แต่จะไม่ชอบน้ำขัง เพราะจะทำให้โคนเน่าได้ง่ายและยังจะทำให้ต้นมะลิไม่สมบูรณ์ มีใบเหลือง ต้นแคระแกร็น และอาจตายได้ซึ่งอาจจะรดน้ำวันละครั้ง หรือสองวันครั้ง ถึงอาทิตย์ละครั้งก็ได้ โดยรดน้ำในตอนเช้า
► การใส่ปุ๋ย
ปกติชาวสวนนิยมใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตราขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ให้ใส่เดือนละครั้ง ด้วยวิธีการหว่าน รอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตาม หากโตแล้วใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการโรยเป็นแนวยาวระหว่างแถว ในอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรงดน้ำจนดินแห้งเต็มที่ก่อน
► โรคที่เกิดกับมะลิ
- โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose) เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีขุยบนใบสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งขยายใหญ่ออกไป มีขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห้นได้ชัดเจน แผลที่ขยายกว้างออกไป มีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อของแผลแห้งกรอบตรงกลางแผลเวลาอากาศชื้นๆ จะพบสเปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลใหญ่ไม่มีขอบเขตจำกัดจนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดโดยปลิวไปกับลม หรือถูกฝนชะล้าง การป้องกัน และกำจัด ทำได้โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราฉีดพ่น สารเคมีที่ใช้ได้ผล ได้แก่ ไดเทนเอ็ม 45, ดาโนนิล เป็นต้น
- โรครากเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii จัดว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง มักจะพบมากในสวนที่ปลูกมะลิมานานกว่า 1 ปีแล้ว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา อาการที่พบจะเห็นว่าต้นมะลิเหลือง เหี่ยว และทิ้งใบ เมื่อขุดจะปรากฎว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นมีเส้นใยราสีขาว
- การป้องกันและกำจัด ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย ดินในหลุมที่เป็นโรคควรจะขุดไปเผาด้วย แล้วใช้ปูนขาวหรือน้ำยาเทอราคลอผสมน้ำราดลงไปในดิน แต่ถ้ามีโรคระบาดไปทั่วสวน ก็ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นสัก 4-5 ปี หรือถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิมควรจะปรับดินเสียใหม่ ด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก
- โรครากปม (Root knot) เกิดจากใส้เดือนฝอย ต้นที่เป้นโรคนี้จะแสดงอาการเด่นชัดทางใบคือ ใบจะมีสีเหลืองต่าง ๆ ทั่วไปทั้งใบ คล้ายกับการขาดอาหาร แต่เมื่อถอนต้นดุจะพบว่ารากมีปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมเนื้อออกดุจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่นั่นคือ ถุงไส้เดือนฝอย เป็นสาเหตุทำให้การลำเลียงน้ำแร่ธาตุขาดตอน ป้องกันได้โดยการปลูกมะลิสลับกับพืชอื่น ๆ และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยได้ผลคุ้มค่า แต่กินเวลานานพอสมควร
► แมลงศัตรูของมะลิ
- หนอนเจาะกินดอก ตัวเล็ก ลำตัวสีเขียว ปากหรือหัวดำ จะมีระบาดมากในฤดูฝน และทำให้ดอกเสียหาย โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นแผล เป็นรู จะพบการทำลายมากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเสียหายมาก การป้องกันและกำจัด อาจทำได้โดยใช้ยา เช่น Azcord 25% EC อัตรา 40 cc หรือต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 3 วันครั้ง ในระยะการระบาดรุนแรงและเว้นช่วงระยะพ่น 5-7 วันครั้ง ถ้ามีการทำลายไม่มากนัก
- หนอนกินใบ หนอนตัวนี้มักระบาดมากในฤดูฝนเช่นกัน โดยจะพับใบมะลิเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น โดยมันจะกัดกินทำลายใบไม้ไปด้วย
- การป้องกันและกำจัด อาจจะเก็บหนอนหรือดักแด้ทำลายหรืออาจให้สารเคมีประเภทโมโนโครโดฟอส (อโซดริน 60% ดับเบิ้ลยู เอส ซี) อัตรา 20 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉัดพ่น ทุก 4-6 วันครั้ง เมื่อมีการระบาด
- หนอนเจาะลำต้น หนอนตัวนี จะเจาะต้นตรงบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกจะพบต้นมีใบเหลือง และหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจาการกัดกินของตัวหนอนกองอยู่เห็นได้ชัดเจน ต้องรีบป้องกันกำจัดทันทีที่เห็น โดยถอนต้นและทำลายตัวหนอนทิ้งทันที
นอกจากแมลงดังกล่วแล้ว ยังมีแมลงจำพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูของมะลิด้วย โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ใบและดอกแคระแกรน หงิก เสียรูปร่างไป ป้องกันและกำจัดแมลงได้โดยใช้ยา เช่น มาลาไธออน มาดูวิน และฟอส เป็นต้น
► การเก็บเกี่ยว และการตลาด
การเก็บเกี่ยวดอกมะลิ ควรเก็บขณะเฉพาะดอกตูม พร้อมจะบานมีความเจริญเต็มที่ ซึ่งมีลักษณะสีขาวนวล ไม่ควรตัดทั้งช่อ เพราะลักษณะดอกมะลิเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วดอกตูมเกินไปจะไม่สามารถบานต่อได้ หรือบานได้แต่ไม่มีคุณภาพ กลิ่นไม่หอม
ส่วนวิธีการเก็บ ใช้มือเด็ดตรงก้านดอก ใต้กลีบเลี้ยง ชาวสวนมะลิในกรุงเทพมหานครมักเก็บประมาณ ตี 03.00 น.-04.00 น. เพื่อจะได้ทันส่งตลาดในเช้าตรู่ ซึ่งมักได้ราคาดีมาก
สำหรับราคาดอกมะลิ จะขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพการใช้งานในท้องถิ่น ฤดูฝนและร้อนราคาดอกมะลิะตกต่ำ แต่ในฤดูหนาวราคาดอกมะลิจะสูงเพราะผลผลิตจะตกต่ำ
- สำหรับปริมาณการผลิตโดยทั่วไป มะลิลาอายุ 1 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาร 1,000-2,000 ลิตร/ไร่
- มะลิลา อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 ลิตร/ไร่
- มะลิลา อายุ 3 ปีขึ้นไป ปกติผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 ลิตร/ไร่ และผลผลิตเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อไป
"มะลิ" เป็นพืชที่ให้น้ำหอมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในระดับสากล นอกจากจะมีความต้องการนำไปใช้เพื่อประโยชนืต่าง ๆ ที่มีกันอยู่กันโดยทั้วไปของสังคมไทยแล้ว ยังสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตเป็น "น้ำมันหอมระเหยจัสมิน (Jasmine)" เพื่อใช้ใน "การบำบัดอโรมาเทอราปี" และการส่งออกไปต่างประเทศได้อีกด้วย
เรียบเรียงบทความ "มะลิ พืชน้ำมันหอมระเหยที่มีศักยภาพของไทย"
โดยกองบรรณาธิการ
www.YesSpaThailand.com
|