| ข้อดี ข้อเสีย ของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ คิดก่อนลงทุน? ใครต่อใครต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ยังไปได้ด้วยดี คนยังสนใจ จนทำให้บางครั้งอาจลืมคิดถึง ข้อดี ข้อเสีย ของระบบแฟรนไชส์ (Franchise) จึงขอย้ำกันอีกครั้งด้วยข้อมูลเบื้องต้นง่ายๆ ไว้ถามใจตนเองดูก่อน ก่อนที่จะคิดลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) |
| แฟรนไชส์เสริมความงาม สปา สุขภาพ ธุรกิจน่าลงทุน ธุรกิจเสริมความงาม สปา สุขภาพ ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะกลุ่มลูกค้าขยายตัวออกไป จากเดิมที่เน้นลูกค้าผู้หญิง แต่ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าผู้ชายก็ให้ความสนใจกับการเสริมความงามเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้ดูดี ในปัจจุบันก็ไม่ได้จำกัดแต่เพียงกลุ่มคนวัยทำงานหรือผู้ใหญ่เท่านั้น แต่กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ต่างก็ให้ความสนใจใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก |
| แฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร? ศัพท์แฟรนไชส์ที่ควรรู้ แฟรนไชส์ (Franchise) หมายถึง ระบบธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เดียวกัน มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการภายใต้กฎกติกาเดียวกัน โดยเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) จะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดวิทยาการความรู้ในการทำธุรกิจของตนให้แก่ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) อย่างใกล้ชิด ส่วนผู้รับสิทธิ์จะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้าและค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ์ |
| ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ปัจจุบันนี้มีบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งบุคคลทั่วไปหรือที่ทำงานเป็นพนักงาน ลูกจ้างบริษัท รับราชการรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว รวมไปถึงผู้ที่ได้ลาออกหรือเกษียณอายุออกมา โดยมีความใฝ่ฝันและตั้งใจอยากจะเป็นเจ้าของกิจการ เพื่อสร้างฐานะและความมั่นคงของครอบครัว แต่ปัญหาสำคัญก็คือการเลือกว่าจะทำธุรกิจประเภทใดจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ เนื่องจากแต่ละรายอาจจะไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนหรือบางรายอาจมีอุปสรรคทางด้านเงินลงทุน ดังนั้นธุรกิจแฟรนไชส์จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจในระดับต้นๆ เพราะถือเป็นช่องทางธุรกิจที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเอง เพราะเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์หรือบริษัทแม่โดยส่วนใหญ่นั้น จะเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของตลาดอยู่แล้ว ผู้ที่ซื้อสิทธิรายใหม่จึงไม่ต้องสร้างชื่อเสียงเอง ทำให้ช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านส่งเสริมการตลาดลงไปได้มาก |
| มุมมองการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบัน "เมื่อใดที่เราคิดว่าเราเข้าใจการตลาดแล้ว เมื่อนั้นมันก็เริ่มเปลี่ยนแปลง และเราก็ต้องไล่ตามเพื่อทำความเข้าใจมัน" Philip Kotler ในต้นทศวรรษที่ 1960 ศจ.เจอโรม แมคคาร์ธี ได้เสนอส่วนประสมการตลาดที่ประกอบด้วย 4 Ps ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) โดยที่แต่ละตัวมีการใช้ที่ผสมผสานที่กลมกลืนอย่างลงตัว เมื่อกาลเวลาผ่านมา คำถามที่เกิดขึ้นกับนักการตลาดคือว่า แนวคิด 4 Ps ยังคงใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีกหรือไม่... |
| วิธีการเลือกแฟรนไชส์ (Franchise) ช่วยให้ท่านเข้าใจถึงลักษณะของแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่ท่านกำลังมองหาได้ง่ายขึ้น แน่นอนที่ว่า ท่านอาจไม่สามารถหาแฟรนไชซอร์ (Franchisor) ที่มีลักษณะดีต่างๆ ได้ตามดังที่ต้องการ แต่สิ่งที่ท่านต้องทำก็คือ การมองหาผู้ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุด เพื่อให้ท่านตัดสินใจได้ในท้ายที่สุดว่า แฟรนไชส์ (Franchise) ที่ดีที่สุดที่มีนั้น ดีพอกับการตัดสินใจของท่านหรือยัง |
| เกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์ (Franchise) แห่งชาติ สำหรับประเทศไทยได้มีการจัดทำระบบการรับรองคุณภาพแฟรนไชส์ (Franchise) เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award:TQA) ตามแนวทางของ MBNQA ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ดูแล พัฒนา การดำเนินการระบบดังกล่าวโดยมีค่านิยมและกรอบแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงเทคนิคและกระบวนการอยู่บนพื้นฐาน... |
| วิธีการสร้างและบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ 1 การสร้างธุรกิจให้กลายเป็นแฟรนไชส์ (Franchise) นั้น ดูเหมือนจะต้องผ่านวิธีการที่เสมือนตัวดักแด้ของผีเสื้อ เพราะต้องมีการเก็บตัวซุ่มเงียบสร้างระบบธุรกิจ รวมถึงการพิสูจน์ความสำเร็จให้ได้ให้เห็นจริงจังเสียก่อน หลังจากนั้นค่อยสยายปีก กลายเป็นผีเสื้อสวยงามพร้อมที่จะเริงร่าไปกับสายลมของการแข่งขันธุรกิจ |
| วิธีสร้าง-บริหารระบบแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ2 15 วิธีในการสร้างและบริหารระบบของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ให้ประสบความสำเร็จและมีรากฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ที่มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป |
| ใครคือนักลงทุน.. แฟรนไชส์ (Franchise)! คนที่ต้องการลงทุนในระบบของธุรกิจแฟรนไชส์นั้น มีข้อแตกต่างกับคนที่ต้องการลงทุนในอาชีพเล็กๆ น้อยๆ อยู่พอสมควร ความที่ระบบแฟรนไชส์กับธุรกิจที่เรียกว่า สร้างอาชีพนั้นเป็นวิธีคิดแตกต่างกัน ทำให้คุณภาพของนักลงทุนไม่เหมือนไปด้วย นักลงทุนที่มองธุรกิจขนาดเล็กลงทุนไม่สูงเน้นเป็นธุรกิจขนาดเล็กเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองไม่ถึงขนาดจะต้องเป็นการตั้งตัวหวังรวย กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มรายได้และความรู้ปานกลาง น่าจะต่างจากอีกกลุ่มที่มีความต้องการสร้างความฝันของตนเองที่จะเป็นนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการ ทั้งๆ ที่มีความรู้อย่างมากพร้อมกับเงินทุนที่พอสมควร แต่การสร้างธุรกิจด้วยตัวเองขึ้นมาทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นกลายเป็นปัญหาของระบบธุรกิจที่วันนี้การเริ่มจากไม่มีอะไรเลยเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะประสบความสำเร็จได้ |
| ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ไม่ใช่สูตรแห่งความสำเร็จ? ในช่วงชีวิตหนึ่ง หลายคนอาจมีความฝันที่จะได้เป็นเจ้าของกิจการใดกิจการหนึ่ง หลายคนยอมทนทำงานเป็นลูกจ้าง เพื่อสะสมเงินทุนและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ โดยมีความหวังว่า สักวันหนึ่งจะต้องได้เป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) กับเขาเข้าสักวัน... |
| วิธีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise) ทำอย่างไร? ทุกคนที่คิดจะขายแฟรนไชส์ (Franchise) สิ่งแรกที่นึกถึงก็คือ อยากจะได้สัญญาแฟรนไชส์เพื่อที่จะขายแฟรนไชส์ได้ทันที แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและในสัญญาระหว่างกันนั้น ควรพูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้จะมีคำตอบ... |
| กลยุทธ์การเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ในขณะนี้เราจะเห็นว่ามีแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) เกิดขึ้นเยอะมาก และหลายท่านก็เป็นแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ที่สร้างแบรนด์และมีระบบที่ดี แต่หลายท่านก็ยังเป็นแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ที่เพิ่งเกิดใหม่ ถ้าเราเป็นแฟรนไชส์ซี (Franchisee) หรือกำลังคิดที่จะเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) นั้น การเลือกแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ที่ถูก ก็เปรียบเหมือนกับการได้คู่สามีภรรยาที่ถูกเหมือนกัน แต่ถ้าเกิดเลือกไม่ถูกก็จะไม่ยั่งยืน เพราะสามีเปรียบได้กับแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ส่วนภรรยาก็เปรียบได้กับแฟรนไชส์ซี (Franchisee) และถ้าเราเป็นแฟรนไชส์ซี (Franchisee) นั้นก็เปรียบเหมือนภรรยาที่ได้ผู้นำไม่ดี ชีวิตครอบครัวก็ไม่ราบรื่น ดังนั้นการเลือกคู่ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) จะต้องมีขั้นตอนอยู่ทั้งหมด 7 ขั้นตอน |
| คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่? ในชีวิตจริงนั้น การทำธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้อย่างดีนั้น มักจะจบหรือพังในไม่ช้า แต่หากวางแผนและไตร่ตรองอย่างดีแล้ว หุ้นส่วนจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ต้องสงสัย จากผลการสำรวจในต่างประเทศพบว่า การบริหารธุรกิจแบบหุ้นส่วนจะอยู่รอดได้นานกว่าธุรกิจที่บริหารเพียงคนเดียว การบริหารทั้งสองแบบมีทั้งข้อดี และข้อเสีย แต่แบบไหนจะเหมาะสมกับคุณ |
| แฟรนไชส์ (Franchise) ธุรกิจสำเร็จรูปหรือสูตรสำเร็จ? มีบุคคลได้กล่าวเอาไว้ว่า "ถ้าเราต้องการเริ่มธุรกิจด้วยตัวเราเอง โอกาสประสบความสำเร็จมี 20% ถ้าเราซื้อกิจการที่เขาดำเนินงานอยู่แล้วมาดำเนินงานต่อ โอกาสประสบความสำเร็จมี 50% แต่ถ้าเราซื้อแฟรนไชส์ โอกาสประสบความสำเร็จมีถึง 80%" |
| คุณสมบัติของธุรกิจที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ 18 คุณสมบัติของธุรกิจเพื่อประเมินความเป็นไปได้ก่อนที่คุณจะนำธุรกิจเข้าสู่ขั้นตอนในการสร้างระบบแฟรนไชส์ (Franchise) และเป็นหนทางนำคุณไปสู่ความสำเร็จมีรากฐานธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ที่แข็งแกร่ง |