บทความ สาระน่ารู้
สปา นวดแผนไทย โยคะ
ความงาม สุขภาพ
ผึ้งบำบัด
(อะพิเธอราพี)
Apiyherapy
|
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
.............................................................................
|
ผึ้งบาบัด (Apitherapy)
หมายถึง การบาบัด บรรเทา รักษาโรคและอาการโดยใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้ง อันได้แก่
น้าผึ้ง เกสรผึ้ง นมผึ้ง พรอพอลิส (ไขผึ้ง) และพิษผึ้ง
หลักการทำงาน
ผึ้งบาบัด (Apitherapy) เป็นการรักษาโดยใช้ พิษผึ้งที่ประกอบด้วยสารทางเคมีที่มีฤทธิ์ไปกระตุ้นร่างกาย ให้ผลิตสารออกมา ซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาโรคและอาการต่างๆ โดยใช้จุดฝังเข็มของการแพทย์แผนจีน มีการใช้มารักษาผู้ป่วยมานานกว่า 3,000 ปี
พิษของผึ้ง (Bee venom)
พิษผึ้ง (Bee venom) คือ สารประกอบโปรตีนที่ผึ้งงานปล่อยออกมาจากต่อมสร้างพิษผ่านออกมาทางท่อเหล็กใน น้้ำพิษที่ผึ้งงานผลิตขึ้นถูกเก็บไว้ในถุงน้าพิษที่อยู่ส่วนปลายของช่องท้อง โดยมีท่อต่อเชื่อมกับอวัยวะที่เรียกว่า เหล็กใน เหล็กในผึ้งงานมีกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทางานของถุงน้าพิษ ผึ้งงานต้องกินเกสรและน้าหวนจากดอกไม้ เพื่อนาไปผลิตน้ำพิษ ผึ้งงานเมื่อเกิดขึ้นมาในระยะแรกนั้นยังสร้างพิษไม่ได้ หลังจากอายุ 14 วัน ปริมาณพิษผึ้งจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อทาหน้าที่ในการป้องกันรังจากศัตรู ในช่วงที่มีเกสรและน้้ำหวานอุดมสมบรูณ์ จะทาให้น้้ำพิษเพิ่มขึ้นและมีความเข้มข้นมากขึ้น ถุงน้าพิษของผึ้งพันธุ์ ถุงหนึ่งบรรจุน้ำพิษได้ประมาณ 0.3 มิลลิกรัม
พิษผึ้งมีลักษณะเป็นของเหลว ไม่มีสี มีรสขม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของสารระเหย มีฤทธิ์เป็นกรด จะปล่อยพิษปริมาณ 0.1 mg ต่อการต่อยหนึ่งครั้ง ผลของพิษผึ้งต่อระบบประสาท (Nervous system) ทำให้เกิดอาการปวดเฉียบพลัน ขณะเดียวกันสามารถลดอาการปวดชนิดเรื้อรังได้
1. ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) ทำให้ความดันโลหิตลดลง และลดความหนืดของเลือด
2. ผลต่อโลหิต (Haematological effect) มีฤทธิ์สกัดการแข็งตัวของเลือด
3. ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน (Immunological effect) ทำให้เกิดการอักเสบ และฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยกระตุ้น Pituitary Adrenal axis ให้ผลิต Cortisol
|
.............................................................................
โฆษณา-ลิงก์ผู้สนับสนุน
.............................................................................
|
สารที่พบและออกฤทธิ์ เป็นสารพวก Peptides ได้แก่ Melittim Apamin Mast cell Adolapin นอกจากนี้จะมี Enzymes พวก Phospholipase A2 Hyaluronidase และอื่นๆ ในจานวนไม่มาก การใช้ผึ้งรักษาเป็นการแพทย์ทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่ง โดยต่อยด้วยเหล็กในตรงบริเวณที่มีอาการกดเจ็บ และใช้หลักการแพทย์แผนจีนตามจุดต่างๆ ที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้อง พิษผึ้งมีฤทธิ์บาบัดหลายอาการโดยเฉพาะแก้ปวด ช่วยปรับภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบเป็นต้น ความสำเร็จในการบาบัดรักษานั้นขึ้นอยู่กับสภาพคนไข้แต่ละคน บางคนใช้ผึ้งต่อยครั้งเดียวก็ดีขึ้น บางคนต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรืออาจใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์จากผึ้ง
ข้อบ่งใช้
โรคและอาการที่เหมาะแก่การบาบัดด้วยผึ้งบาบัด แบ่งเป็น ๔ กลุ่มด้วยกัน คือ
1. กลุ่มอาการปวด ได้แก่ อาการปวดจากสาเหตุจ่างๆ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดขา ปวดต้นคอ ปวดประจาเดือน คอตกหมอน อาการมือชา
2. กลุ่มอาการไขข้อ ได้แก่ อาการอักเสบของข้อต่อ เอ็นและเยื่อหุ้มข้อ เช่น ข้ออักเสบ
3. รูมาตอยต์ อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม นิ้วล็อค เส้นเอ็นอักเสบบริเวณต่างๆ ข้ออักเสบจากโรคเก๊าต์
4. กลุ่มโรคและอาการอื่นๆ เช่น ริดสีดวง ตะคริว ภูมิแพ้ไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาการนอนกรน แขนขาอ่อนแรง โรคอัลไซเมอร์
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยโรคตามอาการที่พาผู้ป่วยมาพบ หรือวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมีการทดสอบอาการแพ้พิษผึ้งก่อนให้การรักษาประมาณ 30 นาที เมื่อไม่มีอาการแพ้จึงเริ่มให้การรักษาต่อไป
การรักษาด้วยผึ้งบาบัด จะมี 3 วิธีคือ
1. การใช้เหล็กไนของผึ้งต่อยรักษาโดยตรง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ก) ต่อยตรงจุดกดเจ็บ (Trigger Point) จุดกดเจ็บ หมายถึง จุดที่กดลงไปแล้วรู้สึกปวด เจ็บแปลบๆ เหมือนมีก้อนแข็งๆ เล็กๆ อยู่บริเวณใต้ผิวหนังเป็นบริเวณที่ มีอาการเจ็บปวดมากที่สุด การหาจุดกดเจ็บทาได้โดยการใช้นิ้วมือคลาดูบริเวณที่มีอาการแล้วค่อยๆ กดลงทีละจุด ประเมินระดับความเจ็บปวดเพื่อการวินิจฉัย ถ้าผู้ป่วยแสดงอาการเจ็บมาก หรือบอกว่าเจ็บ แสดงว่าเป็นจุดที่มีปัญหา ซึ่งนิยมต่อยผึ้งบริเวณจุดนี้ เช่นกลุ่มอาการปวดต่างๆ ปวดหัวไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว ปวดขา ฯลฯ
ข) ต่อยตามจุดบนเส้นลมปราณ การต่อยผึ้งตามจุดบนเส้นลมปราณ ใช้หลักการต่อยเหล็กในผึ้งลงตรงจุดที่ใช้ในการฝังเข็มคล้ายๆ กับการฝังเข็มแต่เปลี่ยนจากเข็มมาเป็นเหล็กในผึ้ง โดยจะให้สรรพคุณเหมือนกับการฝังเข็ม แต่ในเหล็กในผึ้งมีพิษผึ้งซึ่งจะเป็นการบาบัดที่แตกต่างจากการฝังเข็มทั่วไป
2. การใช้พิษแห้ง
ในการรักษาโดยการใช้พิษแห้ง จะใช้หลังจากการต่อยผึ้งหรือกรณีที่ผู้ป่วยไม่ประสงค์ให้ผึ้งต่อยโดยตรง วิธีการใช้พิษแห้งจะใช้ร่วมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
เพื่อให้เกิดการผลักพิษแห้งเข้าไปช่วยบรรเทาหรือรักษาบริเวณที่มีอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดส้นเท้า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ เป็นต้น
3. การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งหรือยางผึ้ง
การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งจะใช้ในการรักษาหลังจากต่อยผึ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามักจะใช้ร่วมกับการรักษาที่ต้องการความต่อเนื่อง เช่น การต่อยผึ้งเพื่อเลิกบุหรี่
ปวดข้อศอก ปวดส้นเท้า เป็นต้น
การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการบำบัดรักษา
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีฝังเหล็กไนผึ้ง ต้องได้รับการทดสอบการแพ้พิษผึ้งก่อน เมื่อร่างกายไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน ก็สามารถฝังเหล็กไนได้
การเตรียมผู้ป่วย
1. ไม่หิวหรืออิ่มจนเกินไป
2. ถ้ามีอาการตื่นกลัว โกรธ ตื่นเต้น ให้ผู้ป่วยนอนพักจนกว่าอาการจะสงบ
3. หากมีเหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ควรให้นอนพักจนแป็นปกติ
4. ก่อนทดสอบอาการแพ้พิษผึ้ง ควรงดอาหารทะเล แอลกอฮอลล์หรือสิ่งที่เคยทาให้แพ้
5. ไม่มีประวัติติดยา แอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่จัด
ข้อควรระวัง ผู้ที่ไม่เหมาะต่อการรักษาด้วยผึ้งบำบัด
1. ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต
2. ผู้ป่วยกระดูกหักที่ต้องการต่อกระดูก
3. หญิงตั้งครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตร
4. สตรีระหว่างมีประจาเดือน
5. ผู้ที่มีประวัติเลือดออกมากผิดปกติ
6. เด็กที่มีอายุต่ากว่า 10 ขวบ
7. อาเจียน ท้องเสียเฉียบพลัน
8. ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
9. ผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง อ่อนแอ ซีด
10. ผู้ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่
บทความสาระน่ารู้
• ผึ้งบำบัด (Apiyherapy)
ที่มา:
นายสมเกียรติ ศรไพศาล นายแพทย์ชานาญการพิเศษ